PIX
วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555
สำนักงานใหญ่ Youtube ที่กรุงลอนดอน..สวยเว่อร์อ่ะ
วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555
วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555
Hello Kitty Cafe’ ร้านกาแฟ สำหรับคนรัก คิตตี้!
กรี๊ดๆ .. teen.mthai เห็นแล้วหลงรักเลยอะ! ยิ่งเป็นคนที่ชอบอะไรหวานๆ แมวเหมียวอย่าง Hello Kitty แล้วละก็เห็นเป็นต้องวิ่งเข้าใส่แน่นอน ก็ ร้านกาแฟ Hello Kitty Cafe’ ไงคะ น่ารักสุดๆ
สาขาแรกที่เปิดในเกาหลีนั้นเปิดในปี 2009 กลุ่มลูกค้าก็ไม่พ้นกลุ่มคนรักที่รัก เจ้าตัวการ์ตูนแมวสีชมพูคิตตี้ โดยเฉพาะผู้หญิงและเด็กที่ชอบรสหอมๆ ของกาแฟ รวมถึงอยากลองชิมเค้กหวานๆ ในบรรยากาศที่น่าสนุกและสบายๆ ค่ะ^^
และในเมื่อเป็นคาเฟ่กาแฟ ขาดไม่ได้แน่นอน!! กับเมนูกาแฟและของหวาน!!! สำหรับ
ราคาก็ปกติ(ของเกาหลี)ค่ะ กาแฟตกถ้วยละประมาณ 4,000 วอน
คิดเป็น เงินไทยก็ร้อยกว่าบาทหน่อยๆ ถือว่ารับได้ และที่สำคัญคือ
เมนูทุกอย่างไม่ว่า กาแฟ เค้ก วาฟเฟิล ทุกอย่างจะตกแต่งเป็นคิตตี้หมดค่ะ เอาให้เอียนกันไปข้าง
วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555
วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555
วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555
ห๊ะ!!ไอติมแท่งละ100 บาท (มาใหม่อีกแล้ว)
วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555
เรื่องราวของจักรยานและการเดินทางรอบประเทศ กับ a day
เมื่อเจ้าพาหนะสองล้อที่แสนเรียบง่ายอย่าง”จักรยาน”ได้ถูกพูดถึงและกลายเป็นกระแสที่คนสนใจกันมากขึ้นเรื่อยๆ ในเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้บรรดาสื่อต่างก็ให้ความสนใจและนำเรื่องราวของจักรยานมาพูดถึงในแง่มุมต่างๆ ปัจจุบันจักรยานได้พัฒนาเป็นวิถีชีวิตอีกรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจ ความนิยมของจักรยานที่เติบโตขึ้น ไม่ได้เป็นเพราะกระแสแฟชั่นเพียงอย่างเดียว แต่เป็นมาจากการที่คนเริ่มมองเห็นประโยชน์ของมันและอยากขี่กันอย่างจริงจังมากขึ้น มองซ้ายมองขวาก็เริ่มเห็นคนปั่นเจ้าสองล้อชนิดนี้กันทั่วเมืองแถมยังเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนทั่วไปที่ใช้จักรยานกันมานานแล้ว เด็กๆวัยรุ่นทั้งหลาย หรือแม้แต่เหล่าศิลปินและดาราชื่อดังอีกมากมายก็ยังมาร่วมแจม
แน่นอนว่านิตยสารวัยรุ่นชื่อดังอย่าง a day ก็คงไม่พลาดที่จะให้ความสนใจเรื่องจักรยานด้วยเช่นกัน แต่จะทำอย่างไรที่จะนำเสนอในรูปแบบที่ไม่ซ้ำใคร เพราะแน่นอนว่านิตยสารฉบับอื่นๆก็คงนำเสนอเรื่องเหล่านี้ด้วยเช่นกัน นับว่าโจทย์หลักที่ท้า a day ให้ต้องแก้ปัญหา เพื่อที่จะนำเสนอเรื่องราวในมุมที่ต่างออกไป
a day อยากเล่าเรื่องราวของคนขี่จักรยานเพื่อชวนให้คนมาขี่จักรยาน แต่ก่อนที่จะชวนคนอื่นออกไปปั่น a day เริ่มต้นจากการจูงจักรยานของตัวเองออกมาปั่นก่อน เพื่อไปตามหาคนขี่จักรยานและพูดคุยกับคนเหล่านั้นที่อยู่ทั่วประเทศไทยในระยะทั้งหมด 45 วัน เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า เมื่อมือใหม่หัดขับอย่างพวกเขาสามารถปั่นได้ ผู้อ่านก็ออกมาปั่นได้เช่นกัน
“มาปั่นจักรยานด้วยกันเถอะ” นั่นคือสิ่งที่ a day อยากจะบอกกับเรา
ผมเองมีโอกาสได้นั่งคุยกับพี่ก้อง ทรงกลด บางยี่ขัน บรรณาธิการ a day เกี่ยวกับเรื่องราวการเดินทางของทริป Human Ride และที่มาของการทำ a day ฉบับจักรยาน ก็เลยอยากจะนำมาเล่ากันให้ฟังซักหน่อย
พี่ก้องได้เล่าถึงที่มาของ a day ฉบับนี้ให้ฟังว่า จากการที่จักรยานกลายเป็นกระแสที่มาแรงและในระดับโลกนั้นได้พูดถึงการใช้จักรยานเอาไว้ว่าเมืองในอนาคตควรจะเป็นเมืองที่เหมาะกับจักรยาน ในเมืองใหญ่ทั่วโลกอยากจะให้คนหันมาใช้จักรยานมากขึ้น เพราะแก้ปัญหาทั้งสิ่งแวดล้อม แล้วยังทำให้เมืองน่าอยู่อีกด้วยและนั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้น
“พี่ก็สนใจแต่คิดว่ามันก็เป็นเรื่องที่ไกลตัวมาก พอกลับมามองเมืองไทยเราก็จะมีข้อจำกัดที่ทำให้คนไม่อยากขี่จักรยานเยอะ เลยรู้สึกว่าเรื่องการขี่จักรยานในเมืองนอกมันเป็นเรื่อง่ายเพราะอากาศมันดี แต่พอกลับมาเมืองไทยแล้วเป็นเรื่องที่ยากมาก พี่เลยไม่คิดจะขี่ ติดกับข้อจำกัดนี่ล่ะครับ ว่าจะขี่ยังไง ร้อนก็ร้อน ถนนก็ลำบาก แค่สนใจเท่านั้นเองแต่ไม่ได้เริ่มขี่”
แต่เมื่อเวลาผ่านไป มีคนหันมาสนใจปั่นจักรยานเยอะขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในแง่การออกกำลังกาย แฟชั่น และสิ่งแวดล้อม รวมถึงการมาของ Fixgear ได้ทำให้วัยรุ่นสนใจและเป็นแฟชั่นมากขึ้นจนกลายเป็นไลฟสไตล์อีกแบบหนึ่ง ด้วยสาเหตุนี้เอง ทำให้บรรณาธิการของเราเปลี่ยนมุมมองไปจากเดิม
“คือตอนแรกสุดมองไปที่ประเทศต่างๆ เห็นว่าจักรยานมันเกิดขึ้นได้เพราะว่ามีระบบในเมืองมันเกิดขึ้นก่อน ของฝรั่งมีระบบกฎหมายทำให้จักรยานมันเกิดขึ้นได้ ซึ่งในเมืองไทยไม่มีก็เลยคิดว่าไม่น่าจะเวิร์ค จนกระทั่งเจอเคสในเมืองไทยซึ่งคนขี่ก่อน คนสนใจขี่แล้วพยายามผลักดันให้เกิดนโยบายเกี่ยวกับจักรยานในเมืองมากขึ้น พอเห็นคนขี่เยอะขึ้นเรื่อยๆ ก็รู้สึกว่าเออ น่าสนใจนะว่าทำไมคนถึงขี่จักรยานกัน ทั้งๆที่เราก็มองว่าเมืองไทยมีข้อจำกัดมากมาย ก็เลยอยากรู้ตรงนี้”
เมื่อ a day จะทำฉบับจักรยาน แต่ถ้าจะให้พูดเรื่องเชิงนโยบาย ว่าทั่วโลกมีนโยบายอะไร แล้วเมืองไทยควรจะเป็นแบบไหน ก็คงเป็นเรื่องใหญ่เกินไป อีกทั้งยังมีคนพูดไปแล้วก็เยอะ a day จึงพยายามมองหาเรื่องราวในแง่มุมอื่นที่แตกต่าง แต่ก็พบว่ายังมีอุปสรรคขนาดใหญ่ที่ต้องเผชิญ
“เหตุการณ์นี้เกิดเมื่อปีกว่าๆ วันที่เรานั่งคุยกันว่าจะทำเรื่องจักรยานกัน ให้ทุกคนกลับไปคิดว่าจะมีเรื่องอะไรบ้าง แล้วก็กลับมานั่งประชุมกัน ในวันที่เรานั่งประชุม ก็มีคนถือนิตยสาร”สารคดี”เล่มใหม่มาด้วย(หน้าปกเรื่องจักรยาน) พี่ก็คิดว่าคงไม่ซ้ำหรอก ก็เปิดสารคดีดู ปรากฏว่าทุกอย่างที่พูดกันมาอยู่ในสารคดีหมดแล้ว และที่สำคัญคือเขาทำดีกว่าเราเยอะเลย สิ่งที่เค้าหามามันเยอะกว่าที่เราคิดได้เยอะมาก ก็คิดว่าเราคงแพ้พ่ายแน่ๆ ก็หยุดการทำเล่มนั้นแบบเบรกเอี๊ยดเลย ก็เลยไปทำเล่มวิดีโอเกมแทน แต่ก็ยังอยากทำอยู่ ก็คิดว่าเอาล่ะ วันหนึ่งที่เราพร้อมกว่านี้ เมื่อเราคิดออกว่าจะทำอะไรค่อยกลับมาทำใหม่”
เวลาผ่านไป นิตยสารหลายเล่มต่างทยอยนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับจักรยานในรูปแบบต่างๆ จึงมาถึงโจทย์ที่ว่า ทำอย่างไรจะไม่ซ้ำกับคนอื่นๆ และจากสาเหตุดังกล่าว จึงเป็นสิ่งที่ทำให้ a day ต้องกลับมาทบทวนถึงจุดมุ่งหมายหลักอีกครั้ง ว่าอยากสื่อสารอะไรกับผู้อ่านจากการทำเรื่องจักรยาน ทำให้พบว่าสุดท้ายปลายทางของการทำนิตยสารฉบับนี้ก็คือ อยากให้คนขี่จักรยาน
“ปลายทางของเราคือ ทำให้คนอ่านจบปั๊บ ไปหาจักรยานมาขี่ ดังนั้นเราคิดว่าจะต้องทำอย่างไรล่ะ ให้คนรู้สึกว่า เค้าอยากขี่จักรยาน ก่อนจะตอบคำถามนี้ ก็กลับไปที่คำถามว่า ทำไมคนถึงไม่ขี่ล่ะ อ๋อ!คนกลัว คนขี่ไม่เป็น หรือปัญหาต่างๆว่า จะจอดรถที่ไหน จะขี่กับใคร เส้นทางไหน เป็นปัญหาเยอะมาก เราก็เลยคิดว่า โอเคนี่คือปัญหาที่พวกเค้าเจอ ดังนั้นทางง่ายที่สุดก็คือบอกเค้าว่าปัญหาเหล่านั้นแก้ยังไง แต่ก็คิดอีกทีว่า มันคงจะดีกว่าถ้าเกิดว่าพวกเราทำตัวเป็นหนูทดลองยา ในการไปลองหัดขี่กันดู ถ้าพวกเราขี่กันรอด พวกเค้าก็เอาเป็นตัวอย่างได้”
ซึ่งในขณะเดียวกัน มีสมาชิกคนหนึ่งของ a day ซึ่งขี่จักรยานมาทำงานเป็นประจำ คือ โต สมพฤกษ์ ผูกพานิช(กราฟิกดีไซเนอร์) จึงเป็นไอเดียให้พี่ก้องอยากลองเดินทางด้วยจักรยานเพื่อเก็บข้อมูลมาบอกเล่าเรื่องราว
“ก็คิดว่าถ้าอย่างนั้นเนื้อหาของ a day เล่มนี้ ก็เป็นเนื้อหาที่คล้ายที่นิตยสารสารคดีทำ คือเรื่องคนกับจักรยานต่างๆ แต่เราจะไม่ไปด้วยการนั่งรถไปหรือขึ้นเครื่องบินไป แต่ว่าเราไปหาคนเหล่านั้นด้วยการปั่นจักรยานไปหาพวกเขา นั่นทำให้เราทั้งหมดมีเวลาประมาณเดือนครึ่ง ในการเลือกซื้อจักรยาน หัดขี่ ซ้อม ฟิตร่างกาย เตรียมตัวเพื่อปั่นจักรยานทั่วประเทศไทยไปหาคนเหล่านั้น ก็คิดว่าลองกับตัวเองก็ดีเหมือนกัน จากคนที่ไม่เคยขี่มาก่อนเลยเนี่ย ไปลองให้ดู แล้วก็ขั้นสูงสุดของการขี่จักรยานในเมืองไทยก็คือการขี่รอบประเทศ ถ้าคิดดูว่าคนที่เพิ่งหัดขี่จักรยานสามารถขี่รอบประเทศได้ คือเตรียมตัวเดือนครึ่งแล้วสามารถขี่รอบประเทศได้ได้ คนอ่านก็ต้องขี่ได้สิ ขี่จากบ้านมาปากซอยก็ต้องขี่ได้สิ ก็เลยเกิดเป็นความคิดเรื่องจักรยาน เลยสนใจจักรยานนับตั้งแต่นั้นมา”
-ปล. อันนี้ยังเป็นเพียงจุดเริ่มต้น เรื่องราวยังมีอีกมากมาย ติดตามกันได้ในตอนต่อไป
แน่นอนว่านิตยสารวัยรุ่นชื่อดังอย่าง a day ก็คงไม่พลาดที่จะให้ความสนใจเรื่องจักรยานด้วยเช่นกัน แต่จะทำอย่างไรที่จะนำเสนอในรูปแบบที่ไม่ซ้ำใคร เพราะแน่นอนว่านิตยสารฉบับอื่นๆก็คงนำเสนอเรื่องเหล่านี้ด้วยเช่นกัน นับว่าโจทย์หลักที่ท้า a day ให้ต้องแก้ปัญหา เพื่อที่จะนำเสนอเรื่องราวในมุมที่ต่างออกไป
คลิกดูรูป fixed gear ได้ที่นี่ |
a day อยากเล่าเรื่องราวของคนขี่จักรยานเพื่อชวนให้คนมาขี่จักรยาน แต่ก่อนที่จะชวนคนอื่นออกไปปั่น a day เริ่มต้นจากการจูงจักรยานของตัวเองออกมาปั่นก่อน เพื่อไปตามหาคนขี่จักรยานและพูดคุยกับคนเหล่านั้นที่อยู่ทั่วประเทศไทยในระยะทั้งหมด 45 วัน เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า เมื่อมือใหม่หัดขับอย่างพวกเขาสามารถปั่นได้ ผู้อ่านก็ออกมาปั่นได้เช่นกัน
“มาปั่นจักรยานด้วยกันเถอะ” นั่นคือสิ่งที่ a day อยากจะบอกกับเรา
ผมเองมีโอกาสได้นั่งคุยกับพี่ก้อง ทรงกลด บางยี่ขัน บรรณาธิการ a day เกี่ยวกับเรื่องราวการเดินทางของทริป Human Ride และที่มาของการทำ a day ฉบับจักรยาน ก็เลยอยากจะนำมาเล่ากันให้ฟังซักหน่อย
พี่ก้องได้เล่าถึงที่มาของ a day ฉบับนี้ให้ฟังว่า จากการที่จักรยานกลายเป็นกระแสที่มาแรงและในระดับโลกนั้นได้พูดถึงการใช้จักรยานเอาไว้ว่าเมืองในอนาคตควรจะเป็นเมืองที่เหมาะกับจักรยาน ในเมืองใหญ่ทั่วโลกอยากจะให้คนหันมาใช้จักรยานมากขึ้น เพราะแก้ปัญหาทั้งสิ่งแวดล้อม แล้วยังทำให้เมืองน่าอยู่อีกด้วยและนั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้น
“พี่ก็สนใจแต่คิดว่ามันก็เป็นเรื่องที่ไกลตัวมาก พอกลับมามองเมืองไทยเราก็จะมีข้อจำกัดที่ทำให้คนไม่อยากขี่จักรยานเยอะ เลยรู้สึกว่าเรื่องการขี่จักรยานในเมืองนอกมันเป็นเรื่อง่ายเพราะอากาศมันดี แต่พอกลับมาเมืองไทยแล้วเป็นเรื่องที่ยากมาก พี่เลยไม่คิดจะขี่ ติดกับข้อจำกัดนี่ล่ะครับ ว่าจะขี่ยังไง ร้อนก็ร้อน ถนนก็ลำบาก แค่สนใจเท่านั้นเองแต่ไม่ได้เริ่มขี่”
แต่เมื่อเวลาผ่านไป มีคนหันมาสนใจปั่นจักรยานเยอะขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในแง่การออกกำลังกาย แฟชั่น และสิ่งแวดล้อม รวมถึงการมาของ Fixgear ได้ทำให้วัยรุ่นสนใจและเป็นแฟชั่นมากขึ้นจนกลายเป็นไลฟสไตล์อีกแบบหนึ่ง ด้วยสาเหตุนี้เอง ทำให้บรรณาธิการของเราเปลี่ยนมุมมองไปจากเดิม
“คือตอนแรกสุดมองไปที่ประเทศต่างๆ เห็นว่าจักรยานมันเกิดขึ้นได้เพราะว่ามีระบบในเมืองมันเกิดขึ้นก่อน ของฝรั่งมีระบบกฎหมายทำให้จักรยานมันเกิดขึ้นได้ ซึ่งในเมืองไทยไม่มีก็เลยคิดว่าไม่น่าจะเวิร์ค จนกระทั่งเจอเคสในเมืองไทยซึ่งคนขี่ก่อน คนสนใจขี่แล้วพยายามผลักดันให้เกิดนโยบายเกี่ยวกับจักรยานในเมืองมากขึ้น พอเห็นคนขี่เยอะขึ้นเรื่อยๆ ก็รู้สึกว่าเออ น่าสนใจนะว่าทำไมคนถึงขี่จักรยานกัน ทั้งๆที่เราก็มองว่าเมืองไทยมีข้อจำกัดมากมาย ก็เลยอยากรู้ตรงนี้”
เมื่อ a day จะทำฉบับจักรยาน แต่ถ้าจะให้พูดเรื่องเชิงนโยบาย ว่าทั่วโลกมีนโยบายอะไร แล้วเมืองไทยควรจะเป็นแบบไหน ก็คงเป็นเรื่องใหญ่เกินไป อีกทั้งยังมีคนพูดไปแล้วก็เยอะ a day จึงพยายามมองหาเรื่องราวในแง่มุมอื่นที่แตกต่าง แต่ก็พบว่ายังมีอุปสรรคขนาดใหญ่ที่ต้องเผชิญ
“เหตุการณ์นี้เกิดเมื่อปีกว่าๆ วันที่เรานั่งคุยกันว่าจะทำเรื่องจักรยานกัน ให้ทุกคนกลับไปคิดว่าจะมีเรื่องอะไรบ้าง แล้วก็กลับมานั่งประชุมกัน ในวันที่เรานั่งประชุม ก็มีคนถือนิตยสาร”สารคดี”เล่มใหม่มาด้วย(หน้าปกเรื่องจักรยาน) พี่ก็คิดว่าคงไม่ซ้ำหรอก ก็เปิดสารคดีดู ปรากฏว่าทุกอย่างที่พูดกันมาอยู่ในสารคดีหมดแล้ว และที่สำคัญคือเขาทำดีกว่าเราเยอะเลย สิ่งที่เค้าหามามันเยอะกว่าที่เราคิดได้เยอะมาก ก็คิดว่าเราคงแพ้พ่ายแน่ๆ ก็หยุดการทำเล่มนั้นแบบเบรกเอี๊ยดเลย ก็เลยไปทำเล่มวิดีโอเกมแทน แต่ก็ยังอยากทำอยู่ ก็คิดว่าเอาล่ะ วันหนึ่งที่เราพร้อมกว่านี้ เมื่อเราคิดออกว่าจะทำอะไรค่อยกลับมาทำใหม่”
เวลาผ่านไป นิตยสารหลายเล่มต่างทยอยนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับจักรยานในรูปแบบต่างๆ จึงมาถึงโจทย์ที่ว่า ทำอย่างไรจะไม่ซ้ำกับคนอื่นๆ และจากสาเหตุดังกล่าว จึงเป็นสิ่งที่ทำให้ a day ต้องกลับมาทบทวนถึงจุดมุ่งหมายหลักอีกครั้ง ว่าอยากสื่อสารอะไรกับผู้อ่านจากการทำเรื่องจักรยาน ทำให้พบว่าสุดท้ายปลายทางของการทำนิตยสารฉบับนี้ก็คือ อยากให้คนขี่จักรยาน
“ปลายทางของเราคือ ทำให้คนอ่านจบปั๊บ ไปหาจักรยานมาขี่ ดังนั้นเราคิดว่าจะต้องทำอย่างไรล่ะ ให้คนรู้สึกว่า เค้าอยากขี่จักรยาน ก่อนจะตอบคำถามนี้ ก็กลับไปที่คำถามว่า ทำไมคนถึงไม่ขี่ล่ะ อ๋อ!คนกลัว คนขี่ไม่เป็น หรือปัญหาต่างๆว่า จะจอดรถที่ไหน จะขี่กับใคร เส้นทางไหน เป็นปัญหาเยอะมาก เราก็เลยคิดว่า โอเคนี่คือปัญหาที่พวกเค้าเจอ ดังนั้นทางง่ายที่สุดก็คือบอกเค้าว่าปัญหาเหล่านั้นแก้ยังไง แต่ก็คิดอีกทีว่า มันคงจะดีกว่าถ้าเกิดว่าพวกเราทำตัวเป็นหนูทดลองยา ในการไปลองหัดขี่กันดู ถ้าพวกเราขี่กันรอด พวกเค้าก็เอาเป็นตัวอย่างได้”
ซึ่งในขณะเดียวกัน มีสมาชิกคนหนึ่งของ a day ซึ่งขี่จักรยานมาทำงานเป็นประจำ คือ โต สมพฤกษ์ ผูกพานิช(กราฟิกดีไซเนอร์) จึงเป็นไอเดียให้พี่ก้องอยากลองเดินทางด้วยจักรยานเพื่อเก็บข้อมูลมาบอกเล่าเรื่องราว
“ก็คิดว่าถ้าอย่างนั้นเนื้อหาของ a day เล่มนี้ ก็เป็นเนื้อหาที่คล้ายที่นิตยสารสารคดีทำ คือเรื่องคนกับจักรยานต่างๆ แต่เราจะไม่ไปด้วยการนั่งรถไปหรือขึ้นเครื่องบินไป แต่ว่าเราไปหาคนเหล่านั้นด้วยการปั่นจักรยานไปหาพวกเขา นั่นทำให้เราทั้งหมดมีเวลาประมาณเดือนครึ่ง ในการเลือกซื้อจักรยาน หัดขี่ ซ้อม ฟิตร่างกาย เตรียมตัวเพื่อปั่นจักรยานทั่วประเทศไทยไปหาคนเหล่านั้น ก็คิดว่าลองกับตัวเองก็ดีเหมือนกัน จากคนที่ไม่เคยขี่มาก่อนเลยเนี่ย ไปลองให้ดู แล้วก็ขั้นสูงสุดของการขี่จักรยานในเมืองไทยก็คือการขี่รอบประเทศ ถ้าคิดดูว่าคนที่เพิ่งหัดขี่จักรยานสามารถขี่รอบประเทศได้ คือเตรียมตัวเดือนครึ่งแล้วสามารถขี่รอบประเทศได้ได้ คนอ่านก็ต้องขี่ได้สิ ขี่จากบ้านมาปากซอยก็ต้องขี่ได้สิ ก็เลยเกิดเป็นความคิดเรื่องจักรยาน เลยสนใจจักรยานนับตั้งแต่นั้นมา”
-ปล. อันนี้ยังเป็นเพียงจุดเริ่มต้น เรื่องราวยังมีอีกมากมาย ติดตามกันได้ในตอนต่อไป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)